กาแฟมีส่วนประกอบสำคัญคือ กาเฟอีน ซึ่งเป็นสารที่พบได้ในอาหารและคเรื่องดื่มหลากหลายชนิด เช่น ชา โกโก้ น้ำอัดลม และเครื่องดิ่มชูกำลัง แต่เมื่อเทียบปริมาณ กาเฟอีนที่มีอยู่ในกาแฟและจะพบว่า กาแฟมีปริมาณกาเฟอีนมากกว่าหลายเท่า ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตเวช ได้ให้ข้อมูลเอาไว้ว่า
"การดื่มกาแฟที่มีปริมาณของกาเฟอีนประมาณ 100 มิลลิกรัม จะทำให้ผู้ดื่มรู้สึกครึ่มอกครึ่มใจ กระชุ่มกระชวย แต่หากดื่มมากถึง 600 มิลลิกรัม กลับพบว่ามีอาการวิตกกังวลและหดหู่เข้ามาแทนที่ แต่หากว่าดื่มมากว่า 1,000 มิลลิกรัม ขึ้นไปจะทำให้เกิดอาการกล้ามเนื้อกระตุก ความคิดและคำพูดติดขัด งุนงงสับสน ใจสั่น หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ รู้สึกเหมือนทำงานไม่รู้จักเหนื่อย กระวนกระวาย และหากดื่มมากกว่า 10,000 มิลลิกรัม จะทำให้เกิดโรคลมชัก ระบบหายใจล้มเหลว และเสียชีวิในที่สุด"
แล้วในหนึ่งวันควรดื่มแค่ไหน
องค์การอาหารและยาแห่งสหรัญอเมริกา (FDA) กำหนดปริมาณกาเฟอีนที่ไม่ก่อให้เกิดอัตรายต่อสุขภาพคือ ไม่เกิด 300มิลลิกรัมต่อวัน หรือเทียบได้กับ การดื่มกาแฟสด 2 ถ้วยต่อวัน หรือ กาแฟผงสำเร็จรูปไม่เกิน 3 ถ้วยต่อวัน
แต่หากว่าใครทำใจลดปริมาณกาแฟไม่ได้จริง ๆ หรือลดแล้วแต่ก็ยังกลับผลร้ายจากกาแฟอยู่ ผมมีวิธีการดิ่มกาแฟให้เกิดผลเสียกับร่างกายน้อยที่สุด ดังนี้
- ดื่่มกาแฟที่สกัดกาเฟอีนออกแทนกาแฟสดหรือกาแฟสำเร็จรูป เช่น หากดื่มกาแฟสด 4 ถ้วยต่อวัน ให้แทนที่ด้วยกาแฟสกัดกาเฟอีน ทั้ง 4 ถ้วยเพื่อลดปริมาณกาเฟอีน ที่ร่างกายจะได้รับ
- หลีกเลี่ยงอาหารและเครื่องดื่มชนิดที่มีกาเฟอีน เช่น ชา โกโก้ น้ำอัดลม และเครื่องดื่มชูกำลัง หากดื่มกาแฟหลายถ้วยต่อวัน ควรหลีกเลี้่ยงอาหารดังกล่าว เพือไม่เป็นการเพิ่ม กาเฟอีนในร่างกาย
- หลีกเลี่ยงการดื่มกาแฟในช่วงบ่ายหรือหัวค่ำ สำหรับผู้ที่มีอาการนอนหลับยาก
- ไม่ดื่มกาแฟขณะท้องว่าง เพราะกาเฟอีน จะเร่งให้เกิดการหลั่งกรด หากเกิดเป็นประจำจะส่งผลให้เกิดแผลใรกระเาพะอาหารได้
- ควรกินอาหารที่มีแคลเซียมเพิ่ม เช่น นม โยเกิร์ต และผักใบเขียว เพราะกาแฟลดการดูดซึมแคลเซียมทำให้เสี่ยงต่อภาวะกระดูกพรุน
- ดื่มน้ำสะอาดมากกว่า 8 - 10 แก้วต่อวัน เพื่อชดเชยการสูญเสียน้ำจากฤทธิ์ในการขับปัสสวะของกาเฟอีน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น